Uncategorized

ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์

ภัยแล้ง หมายถึง ภัยธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีอยู่หลายปัจจัยและหลายสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดภัยแล้งซึ่งมีทั้งเกิดจากธรรมชาติและเกิดจากมนุษย์

ภัยแล้งนั้นถือว่าเป็นภัยธรรมชาติที่คนไทยต้องประสบปัญหาแบบนี้แทบทุกปี แต่เมื่อเวลายิ่งผ่านไปก็แสดงผลกระทบชัดเจนว่าภัยแล้งก็เริ่มทวีคูณขึ้นไปเรื่อยๆ จนหลายๆจังหวัดในประเทศต้องทนทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกๆปี โดยไม่มีทางแก้ไข และที่สำคัญคือปีนี้จะเกิดภัยแล้งหนักขึ้นและยาวนานขึ้นมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา จากข้อมูลที่ได้รับจาก กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ทางกรมได้วิเคราะห์ภาวะสถานการณ์ภัยแล้งจากปี 2552 และผลที่ได้มีถึง 40 จังหวัดที่จะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งมีอยู่ 8 จังหวัดที่จะประสบปัญหาภัยแล้งมากส่วนใหญ่เป็นจังหวัดทางภาคเหนือ และมี 32 จังหวัดที่จะประสบปัญหาภัยแล้งในระดับปานกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็น่าจะเป็นของทางด้านเกษตรกรในประเทศโดยเฉพาะชาวนาผู้ปลูกข้าวที่ได้รับผลกระทบถึง 3.7 ล้านครัวเรือน

ภัยแล้งส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้น เกิดจาก ฝนทิ้งช่วง ซึ่งฝนทิ้งช่วงนั้นหมายถึง การที่ฝนไม่ตกติดต่อกันเกิน 15 วันในช่วงฤดูฝน ภัยแล้งในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะสามารถเกิดได้อยู่ 2 ช่วงเวลา ได้แก้ ช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน และช่วงกลางฤดูฝน ซึ่งอยู่ที่ประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

ประวัติภัยแล้งในประเทศไทยแต่ละปีตั้งแต่ 2540 – 2550 (โดยนับเฉพาะพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจริงๆเท่านั้น)

ในปี พ.ศ. 2540 – มี 64 จังหวัด 657 อำเภอ 4,924 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2541 – มี 72 จังหวัด 698 อำเภอ 4,170 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2542 – มี 58 จังหวัด 568 อำเภอ 3,197 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2543 – มี 59 จังหวัด 584 อำเภอ 3,754 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2544 – มี 51 จังหวัด 571 อำเภอ 4,968 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2545 – มี 68 จังหวัด 640 อำเภอ 4,489 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2546 – มี 63 จังหวัด 373 อำเภอ 2,288 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2547 – มี 64 จังหวัด 446 อำเภอ 2,936 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2548 – มี 71 จังหวัด 682 อำเภอ 5,244 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2549 – มี 61 จังหวัด 524 อำเภอ 3,709 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ในปี พ.ศ. 2550 – มี 66 จังหวัด 669 อำเภอ 4.344 ตำบลที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

 

ผลสำรวจจากกรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยในรอบ 10 ปีตั้งแต่ปี 2540 -2550 สรุปได้ว่าว่า ในปี 2541 เป็นปีที่มีจำนวนจังหวัดและอำเภอประสบปัญหาปัญหาภัยแล้งมากที่สุด และในปี 2548 เป็นปีที่มีจำนวนตำบลที่ต้องประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด

การแก้ปัญหาภัยแล้งนั้นทำได้หลายวิธีซึ่งมีทั้งระยะสั้นและระยะยาวขึ้นอยู่กับว่าภัยแล้งนั้นมีความรุนแรงมากแค่ไหน การแก้ปัญหาภัยแล้งแต่ล่ะระยะทำได้ตามวิธีเบื้องต้น ดังนี้

การแก้ปัญหาระยะสั้น ได้แก่ แจกจ่ายน้ำ ขุดบ่อขุดสระ ขุดน้ำบาดาล ฝนเทียม

การแก้ปัญหาระยะยาว ได้แก่ ทำได้ด้วยการพัฒนาพื้นที่กักเก็บน้ำ สร้างฝาย สร้างเขื่อน ขุดแก้มลิง เพื่อกักเก็บน้ำ และพัฒนาชลประทาน

ปัญหาภัยแล้งนั้นถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาอย่างยาวนานและส่งผลกระทบต่อชีวิตการเป็นอยู่ของผู้คนเป็นอย่างมาก การแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้นเรียกได้ว่าแก้ปัญหาได้เพียงน้อยนิด ดังนั้นพวกเราควรจะเตรียมรับมือไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้รับมือกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ