Uncategorized

ประสบความสำเร็จ ปลาพลวงชมพูเลี้ยงได้ในบ่อซีเมนต์ เล็งเป็นปลาเศรษฐกิจสร้างรายได้

ปลาพลวงชมพู ปลาน้ำจืดหายากของแดนใต้ ปลาอีแกกือเลาะห์ หรือเรียกสั้น ๆ เข้าใจง่ายของคนท้องถิ่นว่า ปลากือเลาะห์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ปลาพลวงชมพู เป็นปลาน้ำจืดที่จัดอยู่ในสายพันธุ์เดียวกันกับปลาพลวงหิน ปลาเวียน แหล่งที่พบจะเป็นทางภาคใต้ของประเทศไทยในบริเวณจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส ในเขตที่เป็นน้ำตกเย็น ๆ หรือตามต้นทางน้ำที่มีการไหลผ่านของน้ำ เพราะเป็นปลาที่ต้องการออกซิเจนในน้ำค่อนข้างมาก ใน  2 จังหวัดนั้นจะพบมากที่สุดโดยเฉพาะกับทางต้นน้ำของยะลา จนในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศให้ปลาพลวงชมพู หรือ ปลากือเลาะห์ กลายเป็นปลาประจำจังหวัดของยะลาไปเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็มีการพบว่าปลาพลวงชมพูนั้นได้มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนน่าเป็นห่วงว่าจะสูญพันธุ์ไป เพราะไม่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงด้วยฝีมือมนุษย์เองได้ อีกทั้งพื้นที่ทางธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลาชนิดนี้ก็เป็นพื้นที่ที่หาได้ยากกว่าปลาชนิดอื่น ทางกรมประมงร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดยะลาได้เริ่มทำการวิจัยปลาพลวงชมพูอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อช่วยกันศึกษาและหาทางออกเพื่อขยายพันธุ์และอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถนำปลาชนิดนี้มาเพาะเลี้ยงได้เอง ความสำเร็จที่เห็นผล ปลาพลวงชมพูสามารถเลี้ยงได้แล้วในบ่อซีเมนต์                 รวมระยะเวลาแล้วก็ 45 ปี ที่นักวิจัยสามารถร่วมกันหาทางออกจนทำให้ตอนนี้ปลากือเลาะห์ หรือ ปลาพวงชมพู สามารถนำมาเพาะเลี้ยงเองได้สำเร็จ โดยสามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้ในบ่อซีเมนต์ได้ ซึ่งนี่ถือว่าเป็นข่าวดีของชาวจังหวัดยะลาและนราธิวาสอย่างมาก เพราะนอกจากจะไม่ต้องสูญเสียพันธุ์ปลาดี ๆ แบบนี้ไปตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรายได้ที่น่าสนใจให้อีกด้วย เนื่องจากปลาพลวงชมพูเป็นปลาน้ำจืดที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมไม่ใช่เฉพาะแต่ทางภาคใต้ของไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นที่นิยมไปถึงในแถบประเทศ อิโดนีเซียและมาเลเซียด้วย นั่นสามารถทำให้เป็นปลาที่ส่งออกขายได้เลย ยิ่งโดยเฉพาะกับทางมาเลเซียที่นิยมรับประทานแต่ทางประเทศไม่อนุญาตให้จับเพราะกลัวการสูญพันธุ์…

Continue Reading

Uncategorized

ชาร์จมือถือจากพลังงานโซล่าเซลล์บนหมวกแก๊ปแบบนี้ก็ได้ด้วย ?

โซล่าเซลล์ พลังงานประหยัดจากธรรมชาติ เราต่างรู้ดีว่ามนุษย์คือเผ่าพันธุ์หนึ่งเดียวที่มีอัตราการใช้พลังงานจากหลายสิ่งหลายอย่างมากที่สุด อันเนื่องมาจากมันสมองอันชาญฉลาดที่คิดค้นดัดแปลงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ นานามาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ตนเอง ซึ่งวิวัฒนาการของเทคโนโลยีก็ก้าวล้ำขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นได้จากความเป็นอยู่ในปัจจุบันของสังคมมนุษย์ที่ต่างไปจากหลายร้อยปีก่อนมาก โดยเฉพาะเรื่องของแสงสว่างที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเป็นตัวนำพา ที่นอกจากตอนนี้เราจะมีแสงสว่างใช้กันอย่างทั่วถึงแล้ว พลังงานดังกล่าวยังถูกดัดแปลงมาให้สามารถใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ อีกด้วย จนเกิดภาวะของการใช้พลังงานที่มากและหนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่าง โซล่าเซลล์ จึงถูกค้นพบและพยายามพัฒนาโดยนักวิจัย นักประดิษฐ์มากมายเพื่อให้สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ตามที่เราเคยได้รับรู้กันมา เช่น การติดเป็นแผงหลงคาของบ้าน โรงงาน หรืออาคารทางการเกษตรต่าง ๆ เพื่อเก็บพลังจากแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้สอย เป็นการลดกำลังการผลิตไฟฟ้าลงได้ แต่มนุษย์ไม่มีทางหยุดแค่การทำแผงหลังคาเท่านั้น เพราะตอนนี้ได้มีการริเริ่มทำแผงโซล่าเซลล์ติดกับหมวกแก๊ปเพื่อใช้ชาร์จมือถือได้แล้ว ความก้าวหน้าที่แปลกใหม่แต่ได้ประโยชน์ของหมวกโซล่าเซลล์                 ทางธุรกิจสตาร์ทอัพอย่าง SolSol ของทางฝั่ง Los Angeles มีแนวคิดที่จะพัฒนาการเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ผ่านทางแผงโซล่าเซลล์ให้มีความเข้ายุคสมัยและผู้คนทั่วไปสามารถเลือกใช้งานกันได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องติดแผงโซล่าเซลล์นี้บนหลังคาบ้านก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมใช้พลังงานทางธรรมชาติได้เช่นกัน โดยดัดแปลงนำแผงโซล่าเซลล์เล็ก ๆ มาติดไว้กับหมวกแก๊ป และมีแนวโน้มกับหมวกทรงอื่น ๆ ด้วย จุดประสงค์ก็เพื่อให้ใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่มือถือ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่เสียบผ่าน USB ด้วย เพราะเล็งเห็นว่าหมวกเป็นอุปกรณ์ที่ใคร ๆ ก็พกพาได้ มันได้ประโยชน์ทั้งบังแดดเมื่อสวมใส่และเป็นเครื่องประดับให้กับการแต่งกายด้วยอีกทาง จึงเห็นว่าประโยชน์ที่ได้น่าจะดีกว่าการพกแบตสำรอง แต่ถึงอย่างไรนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น เพราะได้ทดลองใช้งานแล้วยังเก็บพลังงานนำมาชาร์จแบตได้เพียง  200 mAh…

Continue Reading