Uncategorized

ประสบความสำเร็จ ปลาพลวงชมพูเลี้ยงได้ในบ่อซีเมนต์ เล็งเป็นปลาเศรษฐกิจสร้างรายได้

ปลาพลวงชมพู ปลาน้ำจืดหายากของแดนใต้ ปลาอีแกกือเลาะห์ หรือเรียกสั้น ๆ เข้าใจง่ายของคนท้องถิ่นว่า ปลากือเลาะห์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ปลาพลวงชมพู เป็นปลาน้ำจืดที่จัดอยู่ในสายพันธุ์เดียวกันกับปลาพลวงหิน ปลาเวียน แหล่งที่พบจะเป็นทางภาคใต้ของประเทศไทยในบริเวณจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส ในเขตที่เป็นน้ำตกเย็น ๆ หรือตามต้นทางน้ำที่มีการไหลผ่านของน้ำ เพราะเป็นปลาที่ต้องการออกซิเจนในน้ำค่อนข้างมาก ใน  2 จังหวัดนั้นจะพบมากที่สุดโดยเฉพาะกับทางต้นน้ำของยะลา จนในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศให้ปลาพลวงชมพู หรือ ปลากือเลาะห์ กลายเป็นปลาประจำจังหวัดของยะลาไปเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็มีการพบว่าปลาพลวงชมพูนั้นได้มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนน่าเป็นห่วงว่าจะสูญพันธุ์ไป เพราะไม่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงด้วยฝีมือมนุษย์เองได้ อีกทั้งพื้นที่ทางธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลาชนิดนี้ก็เป็นพื้นที่ที่หาได้ยากกว่าปลาชนิดอื่น ทางกรมประมงร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดยะลาได้เริ่มทำการวิจัยปลาพลวงชมพูอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อช่วยกันศึกษาและหาทางออกเพื่อขยายพันธุ์และอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถนำปลาชนิดนี้มาเพาะเลี้ยงได้เอง ความสำเร็จที่เห็นผล ปลาพลวงชมพูสามารถเลี้ยงได้แล้วในบ่อซีเมนต์                 รวมระยะเวลาแล้วก็ 45 ปี ที่นักวิจัยสามารถร่วมกันหาทางออกจนทำให้ตอนนี้ปลากือเลาะห์ หรือ ปลาพวงชมพู สามารถนำมาเพาะเลี้ยงเองได้สำเร็จ โดยสามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้ในบ่อซีเมนต์ได้ ซึ่งนี่ถือว่าเป็นข่าวดีของชาวจังหวัดยะลาและนราธิวาสอย่างมาก เพราะนอกจากจะไม่ต้องสูญเสียพันธุ์ปลาดี ๆ แบบนี้ไปตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรายได้ที่น่าสนใจให้อีกด้วย เนื่องจากปลาพลวงชมพูเป็นปลาน้ำจืดที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมไม่ใช่เฉพาะแต่ทางภาคใต้ของไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นที่นิยมไปถึงในแถบประเทศ อิโดนีเซียและมาเลเซียด้วย นั่นสามารถทำให้เป็นปลาที่ส่งออกขายได้เลย ยิ่งโดยเฉพาะกับทางมาเลเซียที่นิยมรับประทานแต่ทางประเทศไม่อนุญาตให้จับเพราะกลัวการสูญพันธุ์…

Continue Reading