สังคม

เปลี่ยนชื่อประเทศ เพื่อแก้ปัญหาระดับชาติ ทำแบบนั้นได้จริงใช่หรือไม่

“ชื่อนั้นสำคัญไฉน” คำกล่าวโบราณของไทยดูจะมีความสำคัญ เมื่อการเรียกชื่อนั้นส่งผลต่อความเชื่อของผู้เป็นเจ้าของชื่อ คนไทยส่วนใหญ่มักจะตั้งชื่อตามคำมงคลของศาสนา บ้างก็ให้พระหรือบุคคลสำคัญที่ตนนับถือเป็นผู้ตั้งชื่อให้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย บุคคลนั้นจะถูกแนะนำจากคนรอบข้างว่าควรเปลี่ยนชื่อ เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ให้ดีขึ้น ไม่ใช่เพียงชื่อของบุคคลเท่านั้นที่ถูกเปลี่ยนเมื่อพบเจอกับปัญหา แต่ชื่อของประเทศก็ถูกเปลี่ยนเช่นกัน การเปลี่ยนชื่อประเทศนั้นก็เพื่อแก้ปัญหาทางการเมือง สังคม หรือปัญหาการพิพาทต่าง ๆ  มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งทั่วโลก โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนยุคสมัยของการปกครอง หรือการใช้ชื่อซ้ำกับประเทศอื่น ๆ การเปลี่ยนชื่อจึงเหมือนการประกาศว่าประเทศกำลังเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ เป็นการบอกประชาชนกลาย ๆ ว่าควรจะปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง และยอมรับการพัฒนาที่ฝ่ายรัฐบาลกำลังดำเนินการ เปลี่ยนชื่อประเทศยุติปัญหา การเปลี่ยนชื่อประเทศครั้งล่าสุด เกิดขึ้นโดยประเทศมาซิโดเนีย เป็นเวลากว่า 30 ปีที่มีปัญหาเรื่องข้อพิพทาทกับประเทศกรีซ เนื่องจากชื่อมาซิโดเนียนั้นซ้ำกับชื่อภูมิภาคมาซิโดเนียทางตอนเหนือของกรีซ อีกทั้งยังเป็นชื่อเดียวกับอาณาจักรมาซิโดเนียที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองโดยราชวงศ์อาเจรท์ นอกจากนี้ชาวกรีกส่วนใหญ่ยังกังวลว่าในอนาคตประเทศมาซิโดเนียอาจใช้เป็นข้ออ้างในการผนวกดินแดนในภูมิภาคมาซิโดเนียของกรีซ จึงทำการลงนามเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการจาก สาธารณรัฐมาซิโดเนีย เป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยมาซิโดเนียเหนือ เพื่อยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ในภูมิภาคอื่นก็มีการเปลี่ยนชื่อประเทศเช่นกัน ในทวีปแอฟริกาได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศสวาซิแลนด์ เป็น “ราชอาณาจักรแห่งเอสวาตินี” (the Kingdom of Eswatini) ซึ่งการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ถูกประกาศโดยกษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดี อึมสวาติที่ 3 ทรงระบุว่าผู้คนนอกแอฟริกามักสับสนชื่อประเทศสวาซิแลนด์กับสวิสเซอร์แลนด์ สำหรับประเทศไทยเองก็ได้ผ่านการเปลี่ยนชื่อมาแล้วเหมือนกัน โดยชื่อเดิมนั้นคือ “สยาม” เนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แถลงประกาศการเปลี่ยนชื่อประเทศต่อรัฐสภาทำนองว่า มีความกังวลเรื่องชื่อประเทศ เพราะประชาชนในประเทศถูกเรียกว่าชาวไทย…

Continue Reading

สุขภาพ

“อ้วน” เพราะซึมเศร้า เรื่องจริงที่หลายคนยังไม่เคยรู้

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เป็นความผิดปกติของสมองที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพ ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานลดลง โดยสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นมีหลายอย่าง ได้แก่ ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองชื่อ เซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีปริมาณลดลง จนทำให้การประมวลผลของสมองผิดพลาด และมีความบกพร่องในการประสานงานกันระหว่างเซลล์สมอง โรคซึมเศร้าส่งต่อทางกรรมพันธุ์ได้ โดยเฉพาะการอยู่ใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการซึมเศร้านั้นเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการซึมซับความคิดในแง่ลบของผู้ป่วย อุปนิสัยก็มีส่วนทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าแบบไม่รู้ตัวได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนที่มีภาวะโทษตัวเองกับทุกปัญหาเมื่อเผชิญหน้ากับสภาวะที่ถูกกดดันก็สามารถส่งผลให้อาการซึมเศร้ากำเริบได้ กรณีศึกษาของ “คนดัง” ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า                 โรคซึมเศร้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่เว้นแม้แต่บุคคลมีชื่อเสียง มองภายนอกแล้วดูเหมือนว่ามีความสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าตาและรูปร่าง ความสามารถทางการเป็นนักร้อง นักแสดง และรายได้ที่มากกว่าคนทำงานปกติ เหล่านี้ล้วนเป็นเพียงเปลือกนอกที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อแสดงถึงความสมบูรณ์แบบของชีวิตให้คนภายนอกได้เกิดแรงบันดาลใจเท่านั้น แต่ยังมีเบื้องลึกเบื้องหลังหลายอย่างถูกเก็บไว้เพื่อปกปิดความไม่ปกติที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของพวกเขา “เอิน” กัลยกร นาคสมภพ ปัจจุบันอายุ 34 ปี อดีตนักร้องจากค่ายดังเจ้าของบทเพลง “คนนิสัยไม่ดี” นอกจากนี้เธอยังเคยเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงอีกด้วย เธอได้ห่างหายจากวงการบันเทิงไปสิบกว่าปีเพื่อต่อสู้กับอาการซึมเศร้า โดยเธอเปิดเผยสาเหตุของโรคซึมเศร้าที่เคยเผชิญว่า สมัยเป็นเด็กถูกคาดหวังจากครอบครัว โดยเฉพาะจากแม่ของเธอ ทั้งเรื่องการเรียน การทำงาน รวมไปถึงรูปร่างและความสวยงาม ทำให้เธอถูกจำกัดเรื่องอาหารการกิน โดยเจ้าตัวเผยว่าเคยถูกบังคับให้กินแต่ผลไม้ อาหารเสริม แม้กระทั่งยาลดความอ้วน ที่สำคัญต้องชั่งน้ำหนักทุกวันเพื่อให้ผู้เป็นแม่ประเมินว่าเธอสมควรจะทานอะไรในวันถัดไป การถูกคาดหวังและขีดเส้นชีวิตทำให้เกิดเป็นปมในใจที่นำไปสู่ความเครียด เก็บกด และส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ…

Continue Reading

อาชีพ

อาชีพทำเงินมหาศาลปี 2561 : นายหน้าขายอสังหาริมทรัพย์ให้คนจีน

นับตั้งแต่ปี 2558 คนจีนเริ่มเข้ามาทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เน้นการซื้อคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลจากการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจีนบางคนไม่ได้มาเมืองไทยเพื่อการมาท่องเที่ยวเท่านั้น แต่มาเพื่อสำรวจตลาดและทำเลที่ตั้งต่าง ๆ ประกอบกับความหลงใหลและความชอบที่มีต่อเมืองไทย อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบราคาคอนโดมิเนียมกับจีนแล้ว ยังถือว่าถูกกว่า เหตุผลเหล่านี้จึงทำให้คนจีนหันมาซื้อคอนโดมิเนียมในไทยมากขึ้น จากนักท่องเที่ยวจึงกลายเป็นนักลงทุน ช่วงสิบปีที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีการสร้างคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นทุกปีในเมืองไทย มีตั้งแต่ระดับแพงที่สุดไปจนถึงระดับถูกที่สุด แต่ความต้องการซื้อของคนไทยกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนคอนโด จึงทำให้นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ชาวต่างชาติเริ่มมีความความสำคัญต่อการลงทุนในไทย โดยเฉพาะนักลงทุนชาวจีนที่กลายเป็นชาติแรก ๆ ผู้ให้ความสนใจต่อคอนโดมิเนียมในเมืองไทย เนื่องจากการถือครองทรัพย์สินในรูปแบบอสังหาฯในเมืองไทยนั้น จะมีราคาสูงขึ้นตามกาลเวลา ซึ่งคอนโดเป็นทรัพย์สินที่ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ 100% ต่างจากการซื้อบ้านที่จะต้องซื้อในนามของบริษัทที่ตนเป็นเจ้าของ และเมื่อเปรียบเทียบราคาคอนโดไทยก็มีราคาถูกกว่าจีน และซื้อขายง่าย อีกทั้งนักลงทุนชาวจีนยังมีความเชื่อมั่นว่าตลาดอสังหาฯในไทยจะขยายตัวขึ้น นักลงทุนชาวจีนมีความเชื่อมั่นต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เป็นผลให้เริ่มมีความต้องการการลงทุนมากขึ้น ด้วยความเชื่อและความชอบที่มีต่อเมืองไทย จึงทำให้เกิดการผันตัวจากนักท่องเที่ยวกลายเป็นนักลงทุน อาชีพนายหน้าขายอสังหาฯให้คนจีน เริ่มมีความต้องการสูงขึ้น                 เมื่อความต้องการของนักลงทุนชาวจีนที่มีต่อการลงทุนคอนโดมิเนียมในไทยสูงขึ้น การอำนวยความสะดวกต่อคนเหล่านี้ก็ต้องมีมากขึ้นตามลำดับ อาชีพนายหน้าขายอสังหาฯให้คนจีน ดูจะเป็นอาชีพที่ทำเงินได้มหาศาลในพ.ศ.นี้ เพราะนอกจากจะต้องมีความรู้เรื่องการซื้อขายแล้ว ยังต้องสามารถสื่อสารภาษาจีนได้คล่อง และมีความรู้เรื่องกฎหมายการถือครองทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติอีกด้วย อีกทั้งยังต้องมีจิตใจที่รักการบริการ และรู้จักนิสัยใจคอของชาวจีน เรียกได้ว่าจะต้องเป็นผู้มีความรู้รอบด้าน เพื่อแลกกับค่านายหน้าที่มากกว่าปกติ สิ่งแรกสำหรับผู้ที่ต้องการก้าวหน้าในวงการนี้ก็คือภาษา การพูดภาษาเดียวกับลูกค้าจะทำให้นายหน้ามีความน่าเชื่อถือ และมีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน ดังนั้นเมื่ออยากจะเป็นนายหน้าขายอสังหาฯให้ชาวจีนก็ควรจะเรียนรู้ภาษาจีน ทั้งการอ่าน การพูด และการเขียน เพื่อความพร้อมเมื่อลงสนามจริง ส่วนเรื่องการขายสำหรับนายหน้ารายใหม่ เมื่อสมัครงานกับบริษัทอสังหาฯ จะได้รับการฝึกอบรมและปูพื้นฐานข้อมูลความรู้ในทรัพย์สินที่จะขาย นอกจากนี้สิ่งที่นายหน้าควรจะปฏิบัติก็คือการสร้างเครือข่ายลูกค้า เมื่อนายหน้าสามารถขายคอนโดให้กับลูกค้าชาวจีนได้หนึ่งคน ก็จะสามารถขายให้อีกคนได้ด้วยพลังการตลาดแบบปากต่อปาก…

Continue Reading

เศรษฐกิจ

คนไทยได้อะไรบ้าง จากการเข้าร่วมการประชุม ACMECS

                ACMECS  (Aeyawadee-Chaopraya-Mekong Economic Corporation) คือข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำอิระวะดี-เจ้าพระยา-แม่โขง เป็นข้อตกลงความร่วมมือด้านธุรกิจระหว่างประเทศไทย, พม่า, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่สำคัญระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จะมีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะเป็นลักษณะความช่วยเหลือทางด้านการสร้างเส้นทางการขนส่งระหว่างชายแดน โดยไทยจะให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า ทั้งด้านการเงิน, เงินกู้ผ่อนปรน หรือความช่วยเหลือด้านการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตร การประชุมระดับผู้นำ ACMECS มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า ผู้นำประเทศสมาชิกได้ลงนามในปฏิญญาพุกามเพื่อจัดตั้งกรอบความร่วมมือ ACMECS พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการซึ่งครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน การเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำหรับประเทศไทยเองก็เคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 เพื่อติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแนวทางความร่วมมือต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกได้ลงนามร่วมกันการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นและสร้างความพร้อมให้แก่ภูมิภาคในอนาคต นอกจากนี้ผู้นำประเทศสมาชิกยังให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคร้ายแรงต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไข้หวัดนก ด้วยการลงนามร่วมกันในปฏิญญาผู้นำเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกและโรคติดต่อร้ายแรงอื่น ๆ โดยประเทศไทยประกาศที่จะจัดสรรงบประมาณจำนวน…

Continue Reading