วิทยาศาสตร์

สตีเฟน ฮอว์กิง นักวิทยาศาสตร์ที่โลกต้องจารึก

                วันที่ 14 มีนาคม 2561 เป็นอีกหนึ่งวันที่วงการวิทยาศาสตร์โลกจะต้องจารึกไว้ เนื่องจากวันนี้เป็นวันที่ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์กิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ได้เสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 76 ปี หลังจากที่เขาต้องต่อสู้กับโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อมมาเป็นระยะเวลายาวนาน เส้นทางสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลก                 สตีเฟน ฮอว์กิง ได้ชื่อว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ ที่สามารถความลับของจักรวาลออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยเขาเกิดที่เมืองอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และได้เข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์และฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด สำเร็จปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 หลังจากนั้นก็ได้เข้าเรียนต่อในสาขาจักรวาลวิทยา จนได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก และได้เริ่มทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาสัมพันธภาพและฟิสิกส์ จนได้มีการต่อยอดนำเสนองานวิจัยต่อจากทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ ทฤษฎีบิ๊กแบง และทฤษฎีฟิสิกส์ของหลุมดำ โดยสตีเฟน ฮอว์กิง ได้นำเสนอทฤษฎีของหลุมดำ ที่มีองค์ประกอบของแรงโน้มถ่วงและมวลมหาศาล ซึ่งจากทฤษฎีนี้กล่าวไว้ว่าสุดท้ายหลุมดำนี้ก็จะระเหิดหายไปในที่สุด ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์กิง ได้ชื่อว่าเป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตสถานของประเทศอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 2520 และได้รับตำแหน่งที่เรียกว่า Lucasian Chair of Mathematics ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่เซอร์ไอแซก นิวตันได้รับ ทำให้ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์กิงถูกนำไปเปรียบเทียบความสามารถกับเซอร์ไอแซก นิวตันอยู่บ่อยครั้ง อาการป่วย                                ชีวิตของศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์กิง ไม่ได้ดำเนินไปด้วยความสำเร็จที่ได้มาอย่างราบรื่น…

Continue Reading