เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ คนไทยบอบช้ำมาเป็นแรมปี สาเหตุที่ต้องรู้ จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

ตอนนี้ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนเราก็มักจะเจอคนบ่นว่า เศรษฐกิจไม่ดีเลย ของขายไม่ดีเลย รายได้ไม่พอจะกิน ยังตกงานอยู่เลย เป็นต้น ได้ยินแบบนี้ก็รู้สึกหดหู่ใจตาม สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยแย่ คนไทยต้องบอบช้ำมาเป็นแรมปี มันมีสาเหตุมาจากอะไร และควรมีแนวทางรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจนี้ให้กับคนไทยทั้งประเทศฟังกัน สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ มาจากปัจจัย ดังนี้ 1.ปัจจัยภายในประเทศ เกิดจากปัญหาทางการเมือง ที่มีการคอรัปชั่นกัน ประเทศขาดแคลนเงินทุนในการบริหารและพัฒนาประเทศ บวกกับประสบกับภัยธรรมชาติที่ต้องเสียงบประมาณไปมากมาย ซึ่งสาเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายในเหล่านี้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการย่ำแย่ของเศรษฐกิจไทย 2.ปัจจัยภายนอก เกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทำให้ยอดการซื้อขายของประเทศลดลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศ รวมถึงความตกต่ำของเศรษฐกิจของโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ตกต่ำตามไปด้วย ปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 1.เกิดความยากจน เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ขายสินค้าไม่ได้ การลงทุนจ้างงานจึงลดลง เกิดปัญหาการว่างงาน 2.มีการเปิดเสรีทางการค้าในประเทศต่าง ๆ ของโลก ทำให้ประเทศไทยต้องเกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งในเรื่องของ ราคา คุณภาพสินค้า และการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงให้ทันสมัยเท่าคู่แข่งทางการค้า ซึ่งต้องเพิ่มทุนการผลิตที่สูงขึ้นแต่รายได้ยังคงเท่าเดิมหรือลดลง 3.ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ทำให้มีสภาพความเป็นอยู่ของคนในประเทศที่แตกต่างกัน จะเห็นว่ามีคนจนมากกว่าคนรวย 4.ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าบริการทั้งในและนอกประเทศ ผลิตสินค้าลอกเลียนแบบ รวมถึงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ 1.รัฐบาลต้องมีการกระตุ้นการลงทุนและจ้างงานเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ โดยส่งเสริมด้านเงินทุน 2.เพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าให้มีเอกลักษณ์ และคุณภาพที่ดีแตกต่างจากสินค้าและบริการของคู่แข่ง 3.รัฐบาลควรแก้ปัญหาให้ช่องว่างการกระจายรายได้ลดลง ด้วยการเข้าไปจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรม สร้างงานให้กับคนตกงานในชนบท เพิ่มอาชีพเสริมให้กับคนที่มีรายได้น้อย 4.ออกกฏหมายลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในสินค้าและบริการรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเด็ดขาด หวังว่าหลาย…

Continue Reading

เศรษฐกิจ

คนไทยได้อะไรบ้าง จากการเข้าร่วมการประชุม ACMECS

                ACMECS  (Aeyawadee-Chaopraya-Mekong Economic Corporation) คือข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำอิระวะดี-เจ้าพระยา-แม่โขง เป็นข้อตกลงความร่วมมือด้านธุรกิจระหว่างประเทศไทย, พม่า, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่สำคัญระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จะมีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะเป็นลักษณะความช่วยเหลือทางด้านการสร้างเส้นทางการขนส่งระหว่างชายแดน โดยไทยจะให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า ทั้งด้านการเงิน, เงินกู้ผ่อนปรน หรือความช่วยเหลือด้านการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตร การประชุมระดับผู้นำ ACMECS มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า ผู้นำประเทศสมาชิกได้ลงนามในปฏิญญาพุกามเพื่อจัดตั้งกรอบความร่วมมือ ACMECS พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการซึ่งครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน การเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำหรับประเทศไทยเองก็เคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 เพื่อติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแนวทางความร่วมมือต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกได้ลงนามร่วมกันการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นและสร้างความพร้อมให้แก่ภูมิภาคในอนาคต นอกจากนี้ผู้นำประเทศสมาชิกยังให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคร้ายแรงต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไข้หวัดนก ด้วยการลงนามร่วมกันในปฏิญญาผู้นำเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกและโรคติดต่อร้ายแรงอื่น ๆ โดยประเทศไทยประกาศที่จะจัดสรรงบประมาณจำนวน…

Continue Reading

เศรษฐกิจ

เคาะแล้ว!! ปรับขึ้นราคาเหล้า เบียร์ บุหรี่ จากภาษีที่ถูกปรับขึ้นราคา

จากการที่กฎหมายภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.ย. 2560 มีผลให้กลุ่มสินค้าบางกลุ่มปรับเปลี่ยนราคาจากเดิม โดยเฉพาะสินค้าจำพวกเหล้า เบียร์ บุหรี่ ที่มีการขึ้นราคาจากการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ ทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาที่สูงขึ้น

เศรษฐกิจ

อนุมัติแล้ว!!!! โครงการ SMART Visa สำหรับชาวต่างชาติและผู้ติดตาม อยู่ได้ 4 ปี

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ เห็นชอบขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญ  คือ SMART Visa ซึ่งเป็นวีซ่าที่ออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุนชาวต่างชาติ และเล็งเห็นว่ามีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย .