เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ คนไทยบอบช้ำมาเป็นแรมปี สาเหตุที่ต้องรู้ จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

ตอนนี้ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนเราก็มักจะเจอคนบ่นว่า เศรษฐกิจไม่ดีเลย ของขายไม่ดีเลย รายได้ไม่พอจะกิน ยังตกงานอยู่เลย เป็นต้น ได้ยินแบบนี้ก็รู้สึกหดหู่ใจตาม สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยแย่ คนไทยต้องบอบช้ำมาเป็นแรมปี มันมีสาเหตุมาจากอะไร และควรมีแนวทางรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจนี้ให้กับคนไทยทั้งประเทศฟังกัน สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ มาจากปัจจัย ดังนี้ 1.ปัจจัยภายในประเทศ เกิดจากปัญหาทางการเมือง ที่มีการคอรัปชั่นกัน ประเทศขาดแคลนเงินทุนในการบริหารและพัฒนาประเทศ บวกกับประสบกับภัยธรรมชาติที่ต้องเสียงบประมาณไปมากมาย ซึ่งสาเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายในเหล่านี้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการย่ำแย่ของเศรษฐกิจไทย 2.ปัจจัยภายนอก เกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทำให้ยอดการซื้อขายของประเทศลดลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศ รวมถึงความตกต่ำของเศรษฐกิจของโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ตกต่ำตามไปด้วย ปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 1.เกิดความยากจน เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ขายสินค้าไม่ได้ การลงทุนจ้างงานจึงลดลง เกิดปัญหาการว่างงาน 2.มีการเปิดเสรีทางการค้าในประเทศต่าง ๆ ของโลก ทำให้ประเทศไทยต้องเกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งในเรื่องของ ราคา คุณภาพสินค้า และการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงให้ทันสมัยเท่าคู่แข่งทางการค้า ซึ่งต้องเพิ่มทุนการผลิตที่สูงขึ้นแต่รายได้ยังคงเท่าเดิมหรือลดลง 3.ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ทำให้มีสภาพความเป็นอยู่ของคนในประเทศที่แตกต่างกัน จะเห็นว่ามีคนจนมากกว่าคนรวย 4.ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าบริการทั้งในและนอกประเทศ ผลิตสินค้าลอกเลียนแบบ รวมถึงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ 1.รัฐบาลต้องมีการกระตุ้นการลงทุนและจ้างงานเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ โดยส่งเสริมด้านเงินทุน 2.เพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าให้มีเอกลักษณ์ และคุณภาพที่ดีแตกต่างจากสินค้าและบริการของคู่แข่ง 3.รัฐบาลควรแก้ปัญหาให้ช่องว่างการกระจายรายได้ลดลง ด้วยการเข้าไปจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรม สร้างงานให้กับคนตกงานในชนบท เพิ่มอาชีพเสริมให้กับคนที่มีรายได้น้อย 4.ออกกฏหมายลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในสินค้าและบริการรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเด็ดขาด หวังว่าหลาย…

Continue Reading

สังคม

เปลี่ยนชื่อประเทศ เพื่อแก้ปัญหาระดับชาติ ทำแบบนั้นได้จริงใช่หรือไม่

“ชื่อนั้นสำคัญไฉน” คำกล่าวโบราณของไทยดูจะมีความสำคัญ เมื่อการเรียกชื่อนั้นส่งผลต่อความเชื่อของผู้เป็นเจ้าของชื่อ คนไทยส่วนใหญ่มักจะตั้งชื่อตามคำมงคลของศาสนา บ้างก็ให้พระหรือบุคคลสำคัญที่ตนนับถือเป็นผู้ตั้งชื่อให้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย บุคคลนั้นจะถูกแนะนำจากคนรอบข้างว่าควรเปลี่ยนชื่อ เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ให้ดีขึ้น ไม่ใช่เพียงชื่อของบุคคลเท่านั้นที่ถูกเปลี่ยนเมื่อพบเจอกับปัญหา แต่ชื่อของประเทศก็ถูกเปลี่ยนเช่นกัน การเปลี่ยนชื่อประเทศนั้นก็เพื่อแก้ปัญหาทางการเมือง สังคม หรือปัญหาการพิพาทต่าง ๆ  มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งทั่วโลก โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนยุคสมัยของการปกครอง หรือการใช้ชื่อซ้ำกับประเทศอื่น ๆ การเปลี่ยนชื่อจึงเหมือนการประกาศว่าประเทศกำลังเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ เป็นการบอกประชาชนกลาย ๆ ว่าควรจะปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง และยอมรับการพัฒนาที่ฝ่ายรัฐบาลกำลังดำเนินการ เปลี่ยนชื่อประเทศยุติปัญหา การเปลี่ยนชื่อประเทศครั้งล่าสุด เกิดขึ้นโดยประเทศมาซิโดเนีย เป็นเวลากว่า 30 ปีที่มีปัญหาเรื่องข้อพิพทาทกับประเทศกรีซ เนื่องจากชื่อมาซิโดเนียนั้นซ้ำกับชื่อภูมิภาคมาซิโดเนียทางตอนเหนือของกรีซ อีกทั้งยังเป็นชื่อเดียวกับอาณาจักรมาซิโดเนียที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองโดยราชวงศ์อาเจรท์ นอกจากนี้ชาวกรีกส่วนใหญ่ยังกังวลว่าในอนาคตประเทศมาซิโดเนียอาจใช้เป็นข้ออ้างในการผนวกดินแดนในภูมิภาคมาซิโดเนียของกรีซ จึงทำการลงนามเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการจาก สาธารณรัฐมาซิโดเนีย เป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยมาซิโดเนียเหนือ เพื่อยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ในภูมิภาคอื่นก็มีการเปลี่ยนชื่อประเทศเช่นกัน ในทวีปแอฟริกาได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศสวาซิแลนด์ เป็น “ราชอาณาจักรแห่งเอสวาตินี” (the Kingdom of Eswatini) ซึ่งการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ถูกประกาศโดยกษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดี อึมสวาติที่ 3 ทรงระบุว่าผู้คนนอกแอฟริกามักสับสนชื่อประเทศสวาซิแลนด์กับสวิสเซอร์แลนด์ สำหรับประเทศไทยเองก็ได้ผ่านการเปลี่ยนชื่อมาแล้วเหมือนกัน โดยชื่อเดิมนั้นคือ “สยาม” เนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แถลงประกาศการเปลี่ยนชื่อประเทศต่อรัฐสภาทำนองว่า มีความกังวลเรื่องชื่อประเทศ เพราะประชาชนในประเทศถูกเรียกว่าชาวไทย…

Continue Reading