สุขภาพ

5 สิ่งดี ๆ เกี่ยวกับการเป็นโรคซึมเศร้า

ด้วยปัญหาเรื้อรังทางสังคม โครงสร้างสังคม วัฒนธรรม ประสบการณ์ในวัยเด็ก กระบวนการคิดของผู้ป่วย หรือสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลก็ตามแต่ประชาชนทั่วโลกป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น ซึ่งโรคซึมเศร้าถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมาก ๆ ซึ่งเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกอายุ และทุกอาชีพ สื่อต่าง ๆ และหลาย ๆ หน่วยงานออกมาให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ป่วยซึมเศร้าเพื่อให้มีชีวิตร่วมกันในสังคมได้อย่างง่ายดายและมีความปกติสุขมากขึ้น  ทั้งนี้การประกาศและป้อนข้อมูลให้แก่คนในสังคมเป็นเรื่องดีก็จริง แต่ผู้ป่วยเองก็ต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่ตัวเองกำลังเผชิญและพื้นฐานความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม รวมถึงโครงสร้างในสังคมด้วยว่าเป็นมาอย่างไร การจะให้คนทั้งโลกมาเข้าใจเราย่อมยากกว่าการที่เราเข้าใจตัวเองอยู่มาก การเป็นโรคซึมเศร้ามีผลมาจากทั้งในเรื่องของสารสื่อประสาทในสมองและกระบวนการคิด การมองโลกของผู้ป่วยเองด้วยถือได้ว่าเป็นโรคที่ต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ทั้งในด้านการรักษาทางเทคนิค ทางจิตใจและจิตวิญญาณ  แม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคที่นำความเสียหายมาสู่สังคม แต่ทุกเรื่องย่อมมีด้านมืดด้านสว่าง เรื่องที่ไม่ดีก็ย่อมมีเรื่องที่ดีซ่อนอยู่เสมอ การซึมเศร้าทำให้มีการคิดวิเคราะห์ที่ดีมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าเมื่อเป็นโรคซึมเศร้าผู้ป่วยจะมีวิธีมองปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิมโดยผู้ป่วยจะสามารถสับย่อปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและค่อย ๆ พิจารณาทีละจุด โดยเมื่อมีแบบทดสอบให้ทำผลปรากฏว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทำได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ป่วยและยังสามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมได้ดีกว่าอีกด้วย เช่น ปัญหาการนอกใจ โรคซึมเศร้าทำให้โฟกัสได้มากขึ้น การใคร่ครวญ ย้ำคิดย้ำทำถือว่าเป็นอีกอาการในแง่ลบอาการหนึ่งของการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและเป็นจุดสำคัญที่ต้องรักษา แต่ผู้เชี่ยวชาญค้นพบว่าการใคร่ครวญของผู้ป่วยก็ส่งผลดีได้เหมือนกันซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยจะมีจิตใจจดจ่ออยู่เพียงเรื่องเดียวในใจในขณะนั้น อาการซึมเศร้าช่วยให้ผู้ป่วยมีจุดโฟกัสเพียงจุดเดียวและพิจารณาเฉพาะปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วน คุณมีการตระหนักรู้ในตัวตนตัวเองมากขึ้น การเป็นโรคซึมเศร้าทำให้เราหันมาใส่ใจสุขภาพจิตของตัวเองมากขึ้น มีเวลาคิด ทบทวน ใคร่ครวญ ว่าตัวเองต้องการอะไร ตัวเองเป็นใคร และทำให้ค้นพบคำตอบนั้นได้ ทำให้รู้มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตได้มากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยต้องปรึกษาแพทย์และเข้าร่วมการบำบัดกับนักจิตวิทยาหรือเข้าร่วมกลุ่มบำบัด ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นการฝึกจิตใจและสมองของผู้ป่วยให้มองโลกในอีกมุมนึงที่ไม่เคยมอง ได้เห็นค่าสิ่งเล็กน้อยที่ไม่เคยเห็น และมองเห็นค่าความสวยงามของโลกใบนี้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจคนอื่นและเห็นใจคนอื่นมากขึ้น เมื่อคุณเป็นโรคซึมเศร้านั่นหมายความว่าคุณต้องต่อสู้และเผชิญกับโรคที่เป็นอยู่และได้รู้ว่าการมีโรคประจำตัวต้องการกำลังใจจากคนรอบข้างมากแค่ไหน สุขภาพกายสัมพันธ์กับสุขภาพจิตอย่างไร เมื่อได้เห็นคนที่ป่วยด้วยโรคเหมือนกันหรือไม่ก็ตามแต่ คุณย่อมเข้าใจและเห็นใจและอยากเป็นกำลังใจให้คนอื่น…

Continue Reading

สุขภาพ

“อ้วน” เพราะซึมเศร้า เรื่องจริงที่หลายคนยังไม่เคยรู้

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เป็นความผิดปกติของสมองที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพ ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานลดลง โดยสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นมีหลายอย่าง ได้แก่ ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองชื่อ เซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีปริมาณลดลง จนทำให้การประมวลผลของสมองผิดพลาด และมีความบกพร่องในการประสานงานกันระหว่างเซลล์สมอง โรคซึมเศร้าส่งต่อทางกรรมพันธุ์ได้ โดยเฉพาะการอยู่ใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการซึมเศร้านั้นเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการซึมซับความคิดในแง่ลบของผู้ป่วย อุปนิสัยก็มีส่วนทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าแบบไม่รู้ตัวได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนที่มีภาวะโทษตัวเองกับทุกปัญหาเมื่อเผชิญหน้ากับสภาวะที่ถูกกดดันก็สามารถส่งผลให้อาการซึมเศร้ากำเริบได้ กรณีศึกษาของ “คนดัง” ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า                 โรคซึมเศร้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่เว้นแม้แต่บุคคลมีชื่อเสียง มองภายนอกแล้วดูเหมือนว่ามีความสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าตาและรูปร่าง ความสามารถทางการเป็นนักร้อง นักแสดง และรายได้ที่มากกว่าคนทำงานปกติ เหล่านี้ล้วนเป็นเพียงเปลือกนอกที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อแสดงถึงความสมบูรณ์แบบของชีวิตให้คนภายนอกได้เกิดแรงบันดาลใจเท่านั้น แต่ยังมีเบื้องลึกเบื้องหลังหลายอย่างถูกเก็บไว้เพื่อปกปิดความไม่ปกติที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของพวกเขา “เอิน” กัลยกร นาคสมภพ ปัจจุบันอายุ 34 ปี อดีตนักร้องจากค่ายดังเจ้าของบทเพลง “คนนิสัยไม่ดี” นอกจากนี้เธอยังเคยเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงอีกด้วย เธอได้ห่างหายจากวงการบันเทิงไปสิบกว่าปีเพื่อต่อสู้กับอาการซึมเศร้า โดยเธอเปิดเผยสาเหตุของโรคซึมเศร้าที่เคยเผชิญว่า สมัยเป็นเด็กถูกคาดหวังจากครอบครัว โดยเฉพาะจากแม่ของเธอ ทั้งเรื่องการเรียน การทำงาน รวมไปถึงรูปร่างและความสวยงาม ทำให้เธอถูกจำกัดเรื่องอาหารการกิน โดยเจ้าตัวเผยว่าเคยถูกบังคับให้กินแต่ผลไม้ อาหารเสริม แม้กระทั่งยาลดความอ้วน ที่สำคัญต้องชั่งน้ำหนักทุกวันเพื่อให้ผู้เป็นแม่ประเมินว่าเธอสมควรจะทานอะไรในวันถัดไป การถูกคาดหวังและขีดเส้นชีวิตทำให้เกิดเป็นปมในใจที่นำไปสู่ความเครียด เก็บกด และส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ…

Continue Reading