เศรษฐกิจ

คนไทยได้อะไรบ้าง จากการเข้าร่วมการประชุม ACMECS

                ACMECS  (Aeyawadee-Chaopraya-Mekong Economic Corporation) คือข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำอิระวะดี-เจ้าพระยา-แม่โขง เป็นข้อตกลงความร่วมมือด้านธุรกิจระหว่างประเทศไทย, พม่า, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่สำคัญระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จะมีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะเป็นลักษณะความช่วยเหลือทางด้านการสร้างเส้นทางการขนส่งระหว่างชายแดน โดยไทยจะให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า ทั้งด้านการเงิน, เงินกู้ผ่อนปรน หรือความช่วยเหลือด้านการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตร การประชุมระดับผู้นำ ACMECS มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า ผู้นำประเทศสมาชิกได้ลงนามในปฏิญญาพุกามเพื่อจัดตั้งกรอบความร่วมมือ ACMECS พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการซึ่งครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน การเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำหรับประเทศไทยเองก็เคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 เพื่อติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแนวทางความร่วมมือต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกได้ลงนามร่วมกันการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นและสร้างความพร้อมให้แก่ภูมิภาคในอนาคต นอกจากนี้ผู้นำประเทศสมาชิกยังให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคร้ายแรงต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไข้หวัดนก ด้วยการลงนามร่วมกันในปฏิญญาผู้นำเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกและโรคติดต่อร้ายแรงอื่น ๆ โดยประเทศไทยประกาศที่จะจัดสรรงบประมาณจำนวน…

Continue Reading